ไหสี่หู
187
ไหสี่หู เป็นโบราณวัตถุ ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงรีป่องออก ค่อนมาทางด้านบน ส่วนที่ป่องออกมาจะมีหูสี่หู ติดอยู่ ลักษณะของหู จะเป็นเส้นทรงกลม โค้งงอเป็นรูปวงรีติดอยู่ ทำจากดินเหนียวเผา และเคลือบเงา คาดว่าเป็นโบราณวัตถุสมัยกรุงสุโขทัย ตอนปลาย อายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี สถานที่ขุดพบ อยู่ที่หมู่ ๘ บ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ โรงเรียนสมอทองปทีปพลีผลอุปถัมภ์ ซึ่ง เป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน อำเภอห้วยคต ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ บ้านสมอทอง ตำบลทองหลาง จังหวัดอุทัยธานี
หลังจากที่พี่ตาไปไหว้พระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง แล้ว ได้เดินทางไปเที่ยวชมโบราณสถาน เตาเผาแม่น้ำน้อย จ.สิงห์บุรี ซึ่งพี่ตายังไม่เคยไปเที่ยว และอยากจะเห็นว่าเป็นอย่างไร เป็นเตาเผาแบบไหน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เตาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์ ซึ่งเป็นศาสนสถานเก่าแก่มาแต่โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยนี้ กระจายตัวตามแนวลำแม่น้ำน้อยตลอดระยะ 2 กิโลเมตร และจำนวนมากกว่า 200 เตา แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และถูกทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องมาจากมีการขุดคลองชลประทาน และการก่อสร้างถนน
เมื่อเราเข้าไปถึงอาคาร จะมีมัคคุเทศน์น้อย เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม โรงเรียนวัด มาต้อนรับจำนวน 3 คน เพื่อพาชม แต่ก่อนอื่นต้องไปไหว้องค์พระปรางค์ ที่วัดพระปรางค์ก่อน แล้วจึงพามาดูทีละเตา มีประมาณ 5 เตา ที่ขุดพบแล้ว และยังมีเตาเผาที่ยังไม่ได้ขุดในบริเวณโบราณสถานเตาเผาแม่น้อยแห่งนี้อีก
พื้นที่ในบริเวณโบราณสถาน ยังมีโบราณสถานเก่าแก่
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ทราบว่าในรัชสมัยของพระนครินทราชาได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างใกล้ชิดกับจีน และสันนิษฐานว่ามีชาวจีนรวมถึงช่างปั้นอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้ หรืออาจเป็นการนำช่างจากสุโขทัยลงมา นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงการค้นพบภาชนะดินเผาที่เชื่อมาว่ามาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อยในแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ และตามแหล่งเรือจมทั่วโลก สันนิษฐานได้ว่าเตาแม่น้ำน้อยน่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในปี 2531 บริเวณหน้าวิหารเก่าของวัดพระปรางค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ 3 เนินเชื่อมต่อกัน โดยค้นพบเตาเผาภาชนะดินเผาซ้อนทับกัน 5 เตา เป็นเตาประทุนก่ออิฐสอดิน แบบกระจายความร้อนในแนวระนาบ โดยโครงสร้างของเตาแบ่งเป็น 3 ส่วน
คือ ส่วนหน้าใช้เป็นที่ใส่เชื้อเพลิงกว้าง 2.50 เมตร มีกำแพงกั้นไฟกว้าง 5 เมตร ต่อด้วยส่วนที่ใช้วางภาชนะในห้องเผากว้าง 5.60 เมตร แล้วจึงเป็นส่วนคอดเข้าคอเตาสู่ปล่องไฟกว้าง 2.15 เมตร มีความยาว โดยตลอดตัวเตาทั้งสิ้น 16 เมตร
ผลิตภัณฑ์จากเตาเผาแม่น้ำน้อยได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นไหสี่หู ครก โอ่งอ่าง กระปุกใส่ปูน ขวดปากแตรทรงสูง หวด ฝา เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมจำพวก กระเบื้องปูพื้น ประติมากรรมลอยตัว กระสุนดินเผาขนาดต่าง ๆ ที่เป็นการผลิตแบบสั่งทำเพื่อใช้ในเขตพระราชฐาน หรือสถานที่สำคัญที่พบได้แก่ พระราชวังโบราณพระนครศรีอยุธยา และนารายราชนิเวศน์ เป็นต้น
สันนิษฐานว่าเตาเผาแม่น้ำน้อยหยุดใช้งาน น่าจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนในพื้นที่รวมตัวกันต่อต้านกองทัพข้าศึกที่หมู่บ้านบางระจัน แล้วถูกกวาดต้อนไปเมื่อเสียทีแก่ข้าศึกในเวลาต่อมาเป็นเหตุให้เตาถูกทิ้งร้างไปภายหลังการเสียกรุงครั้งที่สอง
นอกเหนือจากเตาเผาที่ทางวัดพระปรางค์ได้พยายามอนุรักษ์โดยสร้างอาคารมุงสังกะสีคลุมไว้ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อยขึ้น เป็นอาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันสองหลัก หลังแรกเป็นอาคารโปร่งโล่งคลุมเตาเผาไว้ 2 เตา โดยยกพื้นโดยรอบตัวเตาเผาเพื่อที่ผู้ชมสามารถเดินชมตัวเตาเผาได้โดยรอบ บริเวณทางเดินมีนิทรรศการที่ให้ข้อมูลโดยสังเขปของแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนอาคารหลังที่สองจัดแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้
เตาจำลอง
เตาจริงที่ได้ขุดพบ และได้ทำหลังคาคลุมไว้
หน้าเตาสำหรับใส่เชื้อเพลิง
พื้นบนเตาสำหรับ
วางภาชนะที่จะเผา ปล่องควันออก
ภาพเตา 1 เตา
เตา 2 เตาคู่ ภาชนะที่แตกยังคงค้างอยู่บนเตา
ไหสี่หู ไหสี่หูเป็นสัญญลักษณ์คู่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี